วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553








1. ชื่อเรื่อง (Title)
- Canon digital Cameras

2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T
- เป็นผู้ผลิตกล้องถ่ายรูป กล้องวิดิโอ กล้องวงจรปิด ที่มีชื่อเสียงในนามของยี่ห้อ canon

3. วัตถุประสงค์ (Objective)
- 1.เพื่อเพิ่มยอดขาย
- 2.เพื่อสร้างความแตกต่างและความน่าสนใจให้กับตัวสินค้า
- 3.เพื่อสร้างความประทับใจแก่ลูกค้า

4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
- 1.ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง/บุคคลที่สนใจการถ่ายภาพ
- อายุ18ปีขึ้นไป
- โสด/สมรส
- 2.ด้านจินตภาพ
- บุคคลที่ชอบเล่นกล้อง
- เป็นคนที่รักในการถ่ายภาพ
- เป็นคนที่กำลังหาซื้อกล้องถ่ายภาพ

5. แนวความคิด (Concept)
- Canon Surveillance Camera: Robber

6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
- กล้องCannonได้มีการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ที่รักในการถ่ายภาพเพื่อให้ลูกค้าได้มั่นใจในตัว Canon

7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
- ทึ่ง/น่าสนใจ/อยากลองพิสูจน์

8. ผลตอบสนอง (Desired response)
- ผู้บริโภคมีความเข้าใจต่อความมุ่งหมายของCannonและเป็นที่รู้จักของประชาชนเพิ่มมากขึ้น
 แนวโน้มการโฆษณาของนิเทศศาสตร์



การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้มีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละสื่อล้วนพัฒนารูปแบบได้โดนใจผู้บริโภค และผู้ใช้บริการยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ New Media ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในกลุ่มคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่นั้น มีการศึกษาพบว่าไม่ได้ทำให้สื่อแบบเก่าประเภท โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ลดความนิยมลง ถึงแนวโน้มสถานการณ์สื่อว่า ปัจจุบันทั้งสื่อใหม่และสื่อเก่ามีการพัฒนาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของอินเตอร์เน็ตที่เป็นสื่อใหม่ และก้าวเข้าสู่ความนิยมของเมืองไทยเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประสมประสานสื่อเดิมให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น
“เรื่องบันเทิงระหว่างตะวันตกกับตะวันออกถูกเปิดประตูหมด ทำให้การโฆษณาที่จับกับพวกหนังใหญ่จะมีมากขึ้นที่เราเรียบนกว่า Product Placement จะเป็นที่นิยมและแพงมาก เพราะมีการใส่เข้าไปชนิดที่ผู้รับสารไม่รู้ตัว และกลมกลืน”
แม้ว่าภาพรวมของการโฆษณาบ้านเราจะไม่เติบโตเหมือนกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่จากตัวเลขที่ขยับถึง 9.3 หมื่นล้านบาทเมื่อถึงช่วงปลายปี 2549 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่มากกว่าปีที่ผ่านมาราว 4% ทำให้คาดการณ์ว่าปีหน้าอุตสาหกรรมโฆษณาบ้านเราน่าจะทะลุ 1 แสนล้านบาทแน่นอน
ทุกวันนี้ทั่วโลกก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบจากสิ่งพิมพ์ให้มาอยู่หน้าจอ หรือมือถือได้ทั้งหมด นี่เป็นแนวโน้มที่ดีของหนังสือพิมพ์ที่จะต้องผสมผสานเรื่องของสื่ออื่นให้มากขึ้น”